ตอนรับ

ยินดีต้อนรับทุกๆท่าน ที่ให้ความสนใจในการเลี้ยงจิ้งหรีด ในยามว่างหลังเลิกงาน ซึ่งสามารถทำเป็นงานอดิเรก เป็นอาชีพเสริมหรืออาจสามารถสร้างรายได้ให้คุณทำเป็นอาชีพหลักเลยก็เป็นได้ (ฮิฮิ ... สำหรับคนที่เบื่อการเป็นลูกจ้างประจำนะ)

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมเสริม เพิ่มรายได้หลังเลิกงาน

          สำหรับคนที่มีงานประจำ (มนุษย์เงินเดือน) ก็คงต้องทนกับความจำเจ อยู่กับงานที่ตัวเองต้องรับผิดชอบ เข้างาน 8 โมงเช้า เลิกงาน 5 โมงเย็น เจอเพื่อนร่วมงานหน้าเก่าๆ เครียดมาทั้งวัน ผมขอแนะนำการพักผ่อนในแบบ ธรรมชาติ โดยใช้เวลาหลัง 5 โมงเย็น กับช่วงวันหยุดโดยร่วมกันทำกิจกรรมกับลูกๆ (หากใครยังไม่มีก็ฉายเดี่ยวแล้วกันนะ) ซึ่งกิจกรรมนี้ ท่านสามารถนำไปประยุกต์แล้วทำให้กลายเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับตัวท่านเองอีกทางหนึ่ง ลองเลือกกิจกรรมเหล่านั้นดูนะครับ
  • กิจกรรมที่นำเสนอคือ การเลี้ยงจิ้งหรีด พันธ์ทองแดงลาย

จิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงลาย
        อันนี้เลี้ยงไว้เป็นอาหารเสริมกินเล่น หรือเป็นกับแกล้ม แบ่งเพื่อนบ้านกินบ้าง ขายบ้างเป็นรายได้เสริมไปได้ค่าขนมให้เจ้าตัวเล็ก 2 พี่น้อง กิจกรรมนี้เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ใครมีลูกมีหลานให้ช่วยกันเลี้ยงครับ เพลินเวลาเราดูมันค่อยๆ เจริญเติบโต ตั้งแต่เป็นไข่ จนกระทั้งถึงวัยผสมพันธ์ ใครสนใจ ตามไปดู รายละเอียดการเลี้ยงกันเลยรับว่าทำกับอย่างไร

  • นำเสนอกิจกรรมเพิ่มเติมอีก 1 กิจกรรมสำหรับคนรักสุขภาพ คือการปลูกผักไร้ดิน (Hydroponics)
คลิ๊กเลยครับ

    ซึ่งการปลูกผักแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มาก,ไม่จำเป็นต้องใช้ดิน เพียงคุณมีน้ำและไฟฟ้าก็เพียงพอต่อความต้องการของผักแล้ว (อีกอย่าง อาจต้องลงทุนอีกนิดหน่อยนะ) ตามไปดู รายละเอียดกันได้เลยครับ

    การตลาดและการลงทุน

    การลงทุนและผลประโยชน์ / บ่อ / รุ่น

    การลงทุนเริ่มต้น

    1.  วัสดุเตรียมบ่อเลี้ยง ไม่เกิน 150 บาท (แล้วแต่อุปกรณ์ที่เลือก)
    2.  ค่าพ่อ แม่พันธุ์ ประมาณ 100 บาท หรืออาจหาซื้อไข่จิ้งหรีดจากฟาร์มที่เขาเลี้ยงอยู่ก็ได้
    3.  ค่าอาหารไก่เล็ก  3 ก.ก ๆ ละ 15 เป็นเงิน 45 บาท
    รวมต้นทุนโดยประมาณ 295 บาท


    ผลประโยชน์จากการเลี้ยง 1 บ่อ

    จิ้งหรีดสด 3 - 4 ก.ก. ๆ 150 บาท (สถิติจริงจากเจ้าของบล็อกเลี้ยงเอง)
    รวมรายได้ 450 - 600 บาท / บ่อ
    คิดเป็นกำไร 155 - 305 บาท / บ่อ

    ผลประโยช์รุ่นแรกอาจจะเห็นกำไรน้อยเนื่องจากหักการลงทุนจำพวกวัสดุและพ่อแม่พันธ์
    หมายเหตุ พ่อแม่พันธ์ และ วัสดุเตรียมบ่อเลี้ยงจะลงทุนครั้งแรกเท่านั้น
     

    ดูตารางด้านล่างเพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจหากต้องการลงทุนเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลัก
    
    คลิ๊กที่รูปหากต้องการดูภาพขยาย
    

    ตลาดตามชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จากจิ้งหรีด


    1. จิ้งหรีดปรุงเป็นอาหารให้คนรับประทาน เช่น ทอด คั่ว จี่ อบ ลาบ ก้อย
    น้ำพริก รสชาติหอมมันอร่อยมาก
    2. จิ้งหรีดเป็นๆใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดเช่น งู กิ้งก่า จิ้งจก
    ตุ๊กแก แย้ ลูกจระเข้ กบ ปลา ต่างๆ ไก่ชน ไก่แจ้ นกต่างๆ แมงป่อง ตะขาบ เป็นต้น
    3. จิ้งหรีดป่นใช้เป็นหัวอาหารแทนปลาป่นที่แพงมากผสมกักอาหารสัตว์ทุกชนิด
    4. จิ้งหรีดแปรรูปบรรจุกระป๋องขายทั้งในประเทศ และส่งออกขาย่างประเทศ
    5. จิ้งหรีดสกัดสารหัวอาหารแบบชีวเคมีเช่น สารโปรตีน แคลเซียม ไคติน น้ำมัน เป็นต้น
    6. จิ้งหรีดจุลินทรีย์กับกากน้ำตาลได้ปุ๋ยน้ำจิ้งหรีดสกัดไคตินไคโตซานชีวภาพ ใช้ผสมน้ำฉีดพ่นทั้งต้นเป็นปุ๋ยของพืชทุกชนิด และแทนน้ำ หรือผสมไปในน้ำใช้เลี้ยงสัตว์ทุกชนิด

    ตลาดตามช่องทางการตลาดของจิ้งหรีดได้แก่

    1. เพาะเลี้ยงจิ้งหรีดไว้เพื่อรับประทานเองเป็นอาหารที่อร่อยและช่วยเสริม
    โปรตีนและแร่ธาตุได้เป็นอย่างดี
    2. เพาะเลี้ยงจิ้งหรีดไว้เป็นอาหารสัตว์ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ
    3. เพาะเลี้ยงจิ้งหรีดไว้แปรสภาพเป็นผลผลิตภัณฑ์
    4. เพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อส่งออกทั้งจิ้งหรีดสดหรือแช่แข็งและผลิตภัณฑ์ต่างๆ


    หวังว่าข้อมูลนี้ จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเลี้ยงจิ้งหรีดได้นะครับ

    อุปกรณ์ในการเลี้ยงจิ้งหรีด

    วัสดุที่ใช้สำหรับกักขังจิ้งหรีดให้อยู่เป็นที่เป็นทาง

    • ท่อปูนซีเมนต์ปิดก้นเรียบร้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซ.ม.
    • กาละมังพลาสติก
    • กล่องฟิวเจอร์บอร์ด
    • กรงที่ทำด้วยตาข่ายตาถี่ๆ
    หมายเหตุ เลือกใช้ตามความเหมาะสม หรือตามกำลังทรัพย์

    วัสดุป้องกันจิ้งหรีดปีนออกจากที่กักขัง
    • เทปกาวชนิดปิดลังกระดาษ (ใช้ติดภายในท่อป้องกันจิ้งหรีดปีนออก เพราะมันลื่น)
    • เทปใสหน้ากว้าง 2 นิ้ว (ใช้ติดภายในท่อป้องกันจิ้งหรีดปีนออก เพราะมันลื่น)
    • พลาสติกใสขนาดกว้าง 2.5 นิ้ว ความยาวตามขนาดของอุปกรณ์ที่ใช้กักขัง (ปิดข้างในท่อเพื่อป้องกันจิ้งหรีดปีนออก)
    • ตาข่ายไนล่อนเขียว 100x 100 ซม. จำนวน 1 ผืน (ใช้ปิดปากท่อ)
    • ยางรัดปากบ่อหนา 1 ซม. จำนวน 1 เส้น (ใช้รัดตาข่ายไนล่อนไว้กับปากท่อ)
    อุปกรณ์ที่ใช้ให้อาหารและเป็นที่อยู่อาศัยให้จิ้งหรีดหลบภัย

    • ถาดใส่อาหาร จำนวนขึ้นอยู่กับขนาดบ่อเลี้ยง
    • 
      รูป อุปกรณ์ให้อาหารจิ้งหรีด
      
    • ที่ให้น้ำไก่ขนาดเล็ก (แบบลงทุนหน่อยแต่ใช้ยาว)

      รูป อุปกรณ์ให้น้ำไก่มาประยุกต์ให้น้ำจิ้งหรีด
    • ขวดน้ำอัดลมพลาสติก(ใช้ดัดแปลงใส่น้ำให้จิ้งหรีดกิน แบบต้นทุนต่ำ)

      
      รูป แสดงการประยุกต์ใช้ขวดน้ำอัดลมพาสติกเป็นอุกรณ์ให้น้ำ
      
    • รังไข่ กระดาษ จำนวนยิ่งเยอะยิ่งดี (เอาไว้ให้จิ้งหรีดหลบซ่อน)

      
      รูป จิ้งหรีดที่อาศัยอยู่ในลังไข่กระดาษ
      
    • กระดาษลังลูกฟูกนำมาม้วนๆ (ให้ลูกจิ้งหรีดอยู่ช่วงตัวยังเล็ก)

    
    รุป แสดงการเลี้ยงจิ้งหรีดใช้ท่อซีเมนต์
    

    วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    การเลี้ยงจิ้งหรีด

    การเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นงานอดิเรก ยามว่างของคนทำงานประจำ

    ทำความรู้จักกับจิ้งหรีด

    จิ้งหรีดที่ นำมาเลี้ยงคือ พันธุ์ทองแดงลาย

    •  พ่อ-แม่พันธุ์ จิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงลาย



    • ตัวบนเป็นเพศเมีย จะมีอวัยวะวางไข่ปลายแหลมคลายเข็มอยู่ระหว่างปลายหางทั้ง 2 ข้าง ปีกจะเรียบ ตัวจะโตกว่าตัวผู้เนื่องจาก ต้องอุ้มไข่อยู่เต็มท้อง
    • ตัวล่างเป็นเพศผู้ ตัวจะเล็กกว่า ปีกคู่หน้าย่นมีลวดลาย สามารถทำเสียงได้ จากการใช้ปีกทั้งสองข้างเสียดสีกัน
    วงจรชีวิตของจิ้งหรีด
           การเจริญเติบโตของจิ้งหรีด ใช้เวลาตั้งแต่ไข่ จนถึงตัวโตเต็มวัย ประมาณ 45-60 วัน (ในฤดูหนาว จิ้งหรีดจะโตช้ากว่าปกติ) รวมระยะเวลาการลอกคราบ ถึง 7 ครั้ง

    ช่วง ไข่-ตัวอ่อน
    ระยะเวลาจากการฟักตัว จากไข่จิ้งหรีดเป็นตัวอ่อน จะใช้ระยะเวลา 7-10 วัน หรือประมาณ14-20 วัน(อากาศหนาว) เมื่อจิ้งหรีดฟักเป็นตัวให้ หาวัสดุสำหรับให้จิ้งหรีดหลบซ่อน เช่น กระดาษลูกฟูก พร้อมกับใส่หญ้าสดให้ตัวอ่อนได้ดูดน้ำกิน
    การให้อาหาร  ในระยะที่ จิ้งหรีดยังเป็นตัวอ่อนอยู่ ให้อาหารด้วย อาหารไก่สำหรับลูกเจี๊ยบ บดละเอียด ใส่ภาชนะที่มีขอบเตี้ยๆ หรือหาเศษหญ้าแห้งมาพาดเพื่อให้จิ้งหรีดปีนเข้าไปกินอาหารได้
    การให้น้ำ  ในระยะที่เป็นตัวอ่อนการให้น้ำจิ้งหรีด ควรใช้ฟองน้ำซับน้ำให้ชุ่มแล้ววางในตู้เลี้ยงจิ้งหรีด ตัวอ่อนจิ้งหรีดจะมาดูดกินน้ำที่ฟองน้ำ ไม่ควรให้น้ำโดยใส่ ถ้วยหรือจาน เพราะจะทำให้ตัวอ่อนจิ้งหรีดจมน้ำตายได้

    ช่วงจิ้งหรีด ตัวอ่อน-โตเต็มวัย หลังตัวอ่อนจิ้งหรีดมีขนาดโตขึ้น สักระยะ (ประมาณ 2 สัปดาห์ ) จิ้งหรีดจะเริ่มกินอาหารได้มากขึ้น

    การให้อาหาร  ใช้อาหารไก่สำหรับลูกเจี๊ยบบดให้ละเอียด เช่นเดียวกัน และเสริมด้วยผักจำพวก ฟัก-แฟง  ฟักทอง  ผักบุ้ง ผักโขม ผักตะกูลคะน้ากวางตุ้ง (ปลอดสารพิษ นะครับ)มาให้จิ้งหรีดกินเสริมได้ตามธรรมชาติ (สำหรับผมปลูกเอง ปลูกผักไว้กินเองอยู่แล้วเป็นทุน ที่เหลือเศษก็ให้จิ้งหรีดกินปลอดภัยชัวส์ 100 %)
    การให้น้ำ  ในระยะ ที่จิ้งหรีดเริ่มโต ให้น้ำโดยใส่ภาชนะก้นตื้น หรือจาน แล้ววางก้อนหินก้อนเล็กๆ ไว้ในจานเพื่อให้จิ้งหรีดเกาะกินน้ำได้ง่าย

    ช่วง ผสมพันธ์-วางไข่ ในระยะจากตัวอ่อน -โตเต็มไว้ จะใช้เวลา 45-50 วันหลังจากจิ้งหรีดโตเต็มวัยแล้วจะเป็นช่วงผสมพันธ์ ต้องคอยสังเกตุดู(จิ้งหรีดจะเริ่มส่งเสียงร้อง) อีกประมาณ 3-4 วันจิ้งหรีดจะเริ่มวางไข่ให้นำถาดใส่ขี้เถ้าแกลบรดน้ำให้ชุ่มพอประมาณ วางไว้เพื่อให้จิ้งหรีดวางไข่บนถาดขี้เถ้าแกลบ



                   รูป จิ้งหรีดกำลังแย่งกันวางไข่ โดยจะถอยหลังเอาอวัยวะวางไข่ปลายแหลมแทงลงไปในขี้เถ่าแกลบเพื่อวางไข่  หลังจากที่จิ้งหรีดวางไข่ เสร็จ(ใช้เวลา 3 คืน ต่อ1รุ่น)แล้วให้นำไข่จิ้งหรีดรวมถึงขี้เถ้าแกลบ เทใส่เก็บไว้ในถุงพลาสติมัดปากถุงอย่าให้แน่นเกินไปเก็บไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อรอเพาะเลี้ยงในช่วงต่อไป

    วีดีโอ จิ้งหรีดกำลังแยงพื้นมี่กันวางไข่
    จิ้งหรีดเพศเมีย 1 ตัว  จะให้ไข่ประมาณ 800-1,300 ฟอง จิ้งหรีดแต่ละตัวจะไข่สูงสุดประมาณวันที่ 15-16 จากนั้นปริมาณไข่จะลดลงเรื่อยๆ

           ส่วนจิ้งหรีดที่โตเต็มวัยแล้ว ก็นำมาทอดกินหรือขายก็ได้ เมื่อเก็บจิ้งหรีดออกแล้วให้ทำความสะอาดตู้ไว้เพื่อรอเลี้ยงจิ้งหรีดในช่วง ต่อไป.


    เรามาดูการลอกคราบของจิ้งหรีดในระยะสุดท้าย จาก ระยะเสื้อกักเป็นระยะโตเต็มวัย
    ค่อยๆกระดึบๆออกมา

    อีกนิดเดียวจะหลุดแล้ว

    หลังลอกคราบเส็จใหม่ๆ ยังอ่อนแออยู่

    และแล้วก็โตเต็มวัย พร้อมผสมพันธุ์


    มาช่วยกันลุ้นครับ จิ้งหรีดตัวนี้กำลังลอกคราบ
    คุณค่าทางโภชนาการ